วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมประชาธิปไตย


Michael L. Gross เขียนไว้ใน Ethics and Activism: The Theory and Practice of Political Morality  เขามีความเชื่อว่า ความมั่นคงของประชาธิปไตยสมัยใหม่มีพื้นฐานอยู่บนจริยธรรมและการดำเนินการ ของจิต เมื่อรัฐทำผิดพลาด มันขึ้นอยู่กับการดำเนินการแก้ไขโดยพลเมืองที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกเชิง ศีลธรรมจรรยานำพวกเขาไปสู่การรู้และแก้ไขความผิด แต่ความรู้สึกเชิงศิลธรรมจรรยาที่ว่านี้ยังคงมีปัญหาที่การตีความ
วรรณกรรม ด้านประชาธิปไตยและจริยธรรมของนักทฤษฎีการเมืองสมัยคลาสสิกสามารถจำแนกได้ เป็น  2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอซึ่งพบได้ในงานของ Tocqueville, Truman, Dahl,และ Madison  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นแนวความคิดที่อ่อนแอของคุณลักษณะประชาธิปไตย การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่ในใจคนเกี่ยวกับความสุข ไม่ใช่ความชัดเจนของกฎธรรมชาติ การตัดสินทางจริยธรรมถูกสอนให้ยึดมั่นในความห่วงใยต่อท้องถิ่น และการจัดการที่มีประสิทธิภาพต่อการเมืองที่เห็นแก่พวกพ้อง ไม่ใช่ห่วงใยต่อหลักการสากลของความยุติธรรมหรือความดีที่ยึดมั่นร่วมกัน จริง ๆ แล้ว จริยธรรมทางการเมืองที่อ่อนแอก็มองหาจุดสมดุลระหว่างพฤติกรรมที่เห็นแก่พวก พ้อง และความดีที่ยึดมั่นร่วมกันอยู่เหมือนกันโดยเน้นที่ความจงรักภักดีต่อกลุ่ม และความเคารพกฏของเกม พลเมืองต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และต้องมีความเห็นอกเห็นใจเท่าที่จำเป็นและมีการตัดสินเชิงจริยธรรมอย่าง ระมัดระวัง
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจริยธรรมทางการเมืองแบบเข้มแข็ง พบได้ในงานของ John Stuart Mill, John Rawls, Jurgen Habermas, และ John Dewey  นักทฤษฎีเหล่านี้เน้นว่า ความยุติธรรมต้องเป็นหลักการอันดับแรกของการเมือง พวกเขานิยามความยุติธรรมโดยใช้คำที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผลประโยชน์ ความเป็นธรรม หรือการบรรยายเชิงจริยธรรม  แต่แนวความคิดหลักก็คือ ความยุติธรรม คำเหล่านี้ถูกใช้ในการออกแบบเพื่อบูชาหลักการพื้นฐานของความเป็นอิสระ ความมีเกียรติ และความเป็นปัจเจก   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เห็นว่า  การกระทำทางการเมืองในฐานะผลผลิตของความจำเป็น ในประวัติศาสตร์  แต่วัตถุประสงค์ของการกระทำนั้นไม่แตกต่างกัน นั่นคือ การปกป้องความยุติธรรม เพียงแต่รูปแบบอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วงเวลาต่าง ๆ สำหรับนักปรัชญาแต่ละคน นักกิจกรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ปกป้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางจริยธรรมของ ประชาธิปไตย คุ้มครองอิสรภาพทางการเมืองของพวกเรา   และเราไว้วางใจให้เขาใช้จุดยืนทางจริยธรรมที่กำหนดไว้ในการดำเนินกิจกรรม เมื่อหลักการทางจริยธรรมที่สำคัญถูกละเมิด
Gross เห็นว่า การมีจริยธรรมทางการเมืองที่เข้มแข็ง ต้องการคนที่ถูกกำหนดให้มีบทบาทไปกระทำกิจกรรมการเมืองโดยมุ่งให้เกิดความ ยุติธรรมทางสังคม ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีของมนุษย์   งานที่เกี่ยวข้องต้องถูกกำหนดไว้ในหน้าที่ ความเป็นธรรม และหลักการที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง  เขาต้องช่ำชองอย่างมีจริยธรรม และมีทรรศนะชัดเจนเกี่ยวกับหลักการทางจริยธรรม   หมายความว่า พวกนี้จะต้องเป็นอิสระจากผลประโยชน์ของการแบ่งพรรคแบ่งพวก  เป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง และระมัดระวังอย่างเต็มที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการเมือง
แต่เมื่อ Gross ทำการวิจัย 3 กรณีศึกษา เขาพบว่า ปัจเจกบุคคลที่มีความสามารถทางการเมืองมากที่สุดส่วนมากเป็นผู้ที่มีความ สามารถทางจริยธรรมน้อยที่สุด และเมื่อเขาศึกษานักกิจกรรมทางการเมืองกรณีผู้ช่วยเหลือพวกยิวให้รอดจากการ ล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี ผู้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านการทำแท้งในอเมริกา  และขบวนการเรียกร้องความสันติในอิสราเอล  เขาพบว่า มันไม่ใช่เรื่องของคนที่มีศีลธรรมจรรยาสูง แต่คนที่มีความบริสุทธิ์ใจหรือไม่มีเล่ห์เหลี่ยมทางศีลธรรม จรรยาต่างหากที่แสดงให้ปรากฏถึงความสามารถทางการเมือง
คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย
คุณธรรม และจริยธรรมระดับบุคคล หมายถึง สภาพคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ของปัจเจกบุคคล แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีผู้จำแนกบุคคลออกไปตามสถานภาพในสังคม เช่น ในฐานะเป็นสมาชิกรัฐ และในฐานะผู้นำหรือผู้ปกครองรัฐ การมีคุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคล มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาพของประชาธิปไตยมีความเสี่ยงต่อ การทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม ถ้าสมาชิกในสังคมขาดคุณธรรม
คุณธรรมและจริยธรรมระดับบุคคลในสังคมประชาธิปไตย จำแนกออกเป็นสองส่วน คือ การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี และ การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย ในส่วนแรก จะได้นำเสนอคุณสมบัติร่วมของนานาศาสนาที่กล่าวถึงความดีที่พึงมีในตัวบุคคล อาทิ ความซื่อสัตย์ การทำความดี ความเมตตา การยึดมั่นในหลักธรรม ในส่วนที่สองจะได้นำเสนอ คุณสมบัติร่วมของสังคมที่คาดหวังในตัวบุคคล เช่น การทำตามกฎกติกาของสังคม การไม่ละเมิดกฎหมาย การไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม การมีสัมมาชีวะ เป็นต้น
การ เป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย จะได้ชี้ให้เห็นลักษณะเฉพาะของสังคมประชาธิปไตยที่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับ ประชาชน ที่ต้องมีคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างไปจากสังคมในระบอบการปกครองอื่น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นคุณลักษณะทางจิตของบุคคล ต้องสอดคล้องกับการพิทักษ์ความเป็นอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของตนเองไปพร้อมกับการเคารพในอิสระภาพ เสรีภาพ และเสมอภาพของคนอื่นด้วย ได้แก่ การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล เพราะหากบุคคลคำนึงถึงแต่สิทธิเสรีภาพของตนเองโดยไม่สนใจสิทธิเสรีภาพของคน อื่น ก็จะมีความเห็นแก่ตัวยิ่งถ้ามีพัฒนาการขึ้นเป็นผู้ปกครองก็จะกลายเป็นผู้ ปกครองที่เผด็จการณ์
การมีคุณสมบัติของมนุษย์ที่ดี
  1. การยึดและปฏิบัติตามหลักศาสนา 
  2. การเป็นคนดีในสังคม
การเป็นประชาชนที่ดีในสังคมประชาธิปไตย
  1. การเคารพในสิทธิศักดิ์ศรีของมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
  2. การยอมรับความแตกต่างทางความคิด
  3. ความเคารพสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น
  4. การตระหนักและแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
  5. การตระหนักในหน้าที่ของพลเมืองที่มีต่อส่วนรวม
  6. การเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย 
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่พึงมีต่อสังคม หมายถึงการมีคุณงามความดีในการทำหน้าที่พลเมืองของสังคมประชาธิปไตย ความสำคัญของประเด็นนี้อยู่ที่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ดี ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการมีผู้ปกครองที่ดีมีคุณธรรม การทำหน้าที่ให้บริการประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชน เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ การทำหน้าที่ต่อประเทศชาติของประชาชนด้วย
คุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลที่มีต่อสังคมในสังคมประชาธิปไตย ประกอบด้วย การมีรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ทางบวกในการแสดงบทบาทอย่างแข็งขันในการร่วม พัฒนา และแก้ไขปัญหาของสังคมด้านต่าง ๆ เช่น
  1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะอย่างแข็งขัน
  2. การมีส่วนร่วมในการกระทำเพื่อส่วนรวมด้วยความเต็มใจ
  3. การสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  4. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของบ้านเมือง/เคารพในกฎกติกาของสังคม
  5. การติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและหน่วยงานของรัฐ
ทั้งนี้การมีบทบาทดังกล่าวหากทำด้วยความไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็ก่อให้เกิดความวุ่นวายเดือนร้อนและทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม จนถึงการล้มล้างระบบการเมืองการปกครอง กลายเป็นอนาธิปไตยแทนประชาธิปไตยได้ ในบางกรณีก็อาจกลายเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ
คุณธรรมและจริยธรรมของนักพัฒนาในสังคมประชาธิปไตย
คุณธรรม และจริยธรรมของนักพัฒนา หมายถึง จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี มีความสำคัญต่อการพัฒนา และรักษาดำรงไว้ซึ่งระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเมือง อาจถือได้ว่าเป็นจรรยาบรรณ หรือมาตรฐานวิชาชีพของนักพัฒนาก็ได้
จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของนักพัฒนาที่ดี และการดำรงตนในสังคมอย่างนักพัฒนาที่ดี ประกอบด้วย
  1. ความรับผิดชอบในการนำความรู้ไปใช้ในทางการเมืองการปกครอง
  2. เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่สังคม
  3. ความสุจริตในการแสดงความคิดเห็นต่อระบบการเมืองการปกครองและสังคม
  4. ปกป้องหลักการอิสระภาพ เสรีภาพ และความเสมอภาค
  5. ปกป้องการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  6. สนับสนุนและปกป้องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  7. ต่อต้านการใช้อำนาจการเมืองการปกครองในทางที่ผิดและเสียหายต่อประเทศชาติ 
 ขอขอบคุณ http://www.dmsc.moph.go.th/cleangov/knowledge/Ethics.stm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น